ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา
การสื่อสารด้วยภาษาพูด โดยเป็นการพูดที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังโดยตรง ไม่ใช่การพูดผ่านสื่อ ผู้พูดสามารถสังเกตรับรู้ได้ว่าผู้ฟังเข้าใจหรือไม่โดยดูจากปฏิกิริยา หรือคำถามย้อนกลับ แต่ในกรณีที่เป็นการพูดผ่านสื่อ หรือการเขียนสื่อความ หากใช้ภาษาไม่ชัดเจน อาจทำให้เข้าใจผิด การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผล
การใช้ภาษาไม่ชัดเจน
เกิดจาก
1. ใช้คำฟุ่มเฟือย
การใช้คำฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นทั้งที่สามารถตัดออกได้โดยไม่ทำให้เสียความ เช่น ตำรวจทำการจัดกุมคนร้าย เขาออกเดินทางเมื่อเช้าตรู่ใกล้รุ่ง
1. ใช้คำฟุ่มเฟือย
การใช้คำฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นทั้งที่สามารถตัดออกได้โดยไม่ทำให้เสียความ เช่น ตำรวจทำการจัดกุมคนร้าย เขาออกเดินทางเมื่อเช้าตรู่ใกล้รุ่ง
2. ใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ในภาษาไทยมีคำทับศัพท์จำนวนมาก เนื่องจากการรับเอาคำศัพท์ภาษาต่างประเทศเข้ามา ศัพท์บางคำมีคำที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งจำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารให้ตรงความหมาย เช่น ชื่อเฉพาะ ศัพท์ทางวิชาการ แต่คำศัพท์บางคำมีคำไทยใช้หรือมีการบัญญัติคำศัพท์ในภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไปอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้คำทับศัพท์ เช่น แสตมป์ (ดวงตราไปรณียากร) บอมพ์ (ระเบิด) กรุ๊ป (กลุ่ม) เซ็นเตอร์ ( ศูนย์กลาง)
ในภาษาไทยมีคำทับศัพท์จำนวนมาก เนื่องจากการรับเอาคำศัพท์ภาษาต่างประเทศเข้ามา ศัพท์บางคำมีคำที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งจำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารให้ตรงความหมาย เช่น ชื่อเฉพาะ ศัพท์ทางวิชาการ แต่คำศัพท์บางคำมีคำไทยใช้หรือมีการบัญญัติคำศัพท์ในภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไปอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้คำทับศัพท์ เช่น แสตมป์ (ดวงตราไปรณียากร) บอมพ์ (ระเบิด) กรุ๊ป (กลุ่ม) เซ็นเตอร์ ( ศูนย์กลาง)
3. ใช้คำขัดแย้งกันในประโยค
การใช้คำขัดแย้งกันในประโยคโดยไม่ระมัดระวัง อาจทำให้การสื่อสารสับสน เช่น เขาสวมกางเกงขายาวเหนือเข่า ผู้หญิงคนนั้นเดินขวักไขว่อยู่คนเดียว
การใช้คำขัดแย้งกันในประโยคโดยไม่ระมัดระวัง อาจทำให้การสื่อสารสับสน เช่น เขาสวมกางเกงขายาวเหนือเข่า ผู้หญิงคนนั้นเดินขวักไขว่อยู่คนเดียว
4. ใช้ภาษาหนังสือพิมพ์แทนภาษาเขียนมาตรฐาน ภาษาหนังสือพิมพ์เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากผู้เขียนมีเจตนาให้ดึงดูดความสนใจ
เช่น การพาดหัวข่าวโดยใช้คำกริยานำหน้าประโยค การใช้คำที่มีความหมายรุนแรงเกินความจำเป็น ฯลฯ จึงไม่ควรนำมาใช้ในการพูดหรือเขียนโดยทั่วไป เช่น รวบมือมีดสังหารโหด บอลไทยวืด
5. ใช้คำผิดความหมาย
การใช้คำผิดความหมายทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน เช่น เขาทอดทิ้งเธอไว้ตามลำพังเพียงชั่วครู่ เสื้อผ้าของเขาดูเก่าคร่ำครึมาก
การใช้คำผิดความหมายทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน เช่น เขาทอดทิ้งเธอไว้ตามลำพังเพียงชั่วครู่ เสื้อผ้าของเขาดูเก่าคร่ำครึมาก
6. ใช้คำต่างระดับ
ไม่คงที่
ระดับของภาษา ได้แก่ ภาษาปาก ภาษากึ่งแบบแผน และภาษาแบบแผน และยังมีภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาตามวัฒนธรรม และภาษากวี การใช้ภาษาต่างระดับทำให้มีความแตกต่างลักลั่น เช่น ดวงพระสุริยาฉายแสงกล้ามากในตอนบ่าย มนุษย์ทุกคนต้องละสังขารในที่สุด
ระดับของภาษา ได้แก่ ภาษาปาก ภาษากึ่งแบบแผน และภาษาแบบแผน และยังมีภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาตามวัฒนธรรม และภาษากวี การใช้ภาษาต่างระดับทำให้มีความแตกต่างลักลั่น เช่น ดวงพระสุริยาฉายแสงกล้ามากในตอนบ่าย มนุษย์ทุกคนต้องละสังขารในที่สุด
7. ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ ภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศมีรูปแบบโครงสร้างทางภาษาที่แตกต่างกัน
ในการแปลภาษาต่างประเทศ บางครั้งผู้แปลไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับลักษณะภาษาไทย
ทำให้มีลักษณะสำนวนต่างประเทศ และกลายมาเป็นรูปแบบที่จดจำนำมาใช้
เช่น เธอเข้ามาในห้องพร้อมกับช่อดอกไม้ในมือ
เขาจับรถไฟไปอย่างรีบร้อน สองสาวที่นั่งอยู่ตรงนั้นเป็นเพื่อนกัน
8. ใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียน
ภาษาพูดหรือภาษาปาก เป็นภาษาระดับหนึ่งที่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในการเขียน การนำภาษาพูดมาใช้ในการเขียนอาจใช้ได้การเขียเรื่องประเภทบันเทิงคดี เพื่อให้ดูสมจริง แต่ไม่สมควรนำมาใช้ในภาษาเขียนทั่วไป โดยเฉพาะภาษาสะแลง หรือภาษาคะนอง เช่น หนาวชะมัด เด็กคนนี้แสบจริง ๆ
ภาษาพูดหรือภาษาปาก เป็นภาษาระดับหนึ่งที่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในการเขียน การนำภาษาพูดมาใช้ในการเขียนอาจใช้ได้การเขียเรื่องประเภทบันเทิงคดี เพื่อให้ดูสมจริง แต่ไม่สมควรนำมาใช้ในภาษาเขียนทั่วไป โดยเฉพาะภาษาสะแลง หรือภาษาคะนอง เช่น หนาวชะมัด เด็กคนนี้แสบจริง ๆ
9. ประโยคมีความหมายกำกวม
การใช้ภาษากำกวม หมายถึงการใช้คำหรือภาษาที่อาจมีความหมายไม่ชัดเจน หรือสื่อความได้หลายอย่าง เช่น เครื่องบินขับรถชนเขา มีคนขนข้าวของเขาไป
การใช้ภาษากำกวม หมายถึงการใช้คำหรือภาษาที่อาจมีความหมายไม่ชัดเจน หรือสื่อความได้หลายอย่าง เช่น เครื่องบินขับรถชนเขา มีคนขนข้าวของเขาไป
10. เรียงลำดับคำในประโยคไม่ถูกต้อง การเรียงลำดับคำในประโยคไม่ถูกต้องทำให้การสื่อสารไม่ชัดเจน เช่น หนังสือบนชั้นเขาไม่เคยอ่านเลย
หน้าตลาดตรงร้านขายปลาเขาได้พบเธอ
11. ประโยคมีเนื้อความไม่สัมพันธ์กัน ประโยคที่มีเนื้อความไม่สัมพันธ์กันทำให้การสื่อสารสับสน เช่น เขาเรียนอุดมศึกษาและไปจ่ายตลาด ,
ฝนตกหนัก แม่จึงคลุกข้าวให้แมว
12. การเว้นวรรคตอนผิด
การเว้นวรรคตอนผิด ทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน เช่น เขาเป็นคนซื่อ/ ตรงมาก อย่าอวด /อ้างมากเกินไป
13. ใช้คำไม่เหมาะสมกับโอกาส กาลเทศะและบุคคล การเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับโอกาส กาลเทศะและบุคคล เช่น คำราชาศัพท์ คำที่ใช้สำหรับพระภิกษุ และบุคคลระดับต่าง ๆ
การเว้นวรรคตอนผิด ทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน เช่น เขาเป็นคนซื่อ/ ตรงมาก อย่าอวด /อ้างมากเกินไป
13. ใช้คำไม่เหมาะสมกับโอกาส กาลเทศะและบุคคล การเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับโอกาส กาลเทศะและบุคคล เช่น คำราชาศัพท์ คำที่ใช้สำหรับพระภิกษุ และบุคคลระดับต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น